logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ชีววิทยา
  • คอเลสเตอรอลภัยร้ายใกล้ตัว

คอเลสเตอรอลภัยร้ายใกล้ตัว

โดย :
วิลาส รัตนานุกูล
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 03 มิถุนายน 2553
Hits
18977

คอเลสเตอรอลภัยร้ายใกล้ตัว

12968

โดย...นางสาววิลาส  รัตนานุกูล

คอเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นไขมันในเลือดชนิดหนึ่งที่ร่างกายได้มาจากอาหาร และสร้างขึ้นเอง เนื่องจากมีความสำคัญต่อร่างกาย คือ ช่วยให้ทารกในครรภ์มีพัฒนาการที่ดี มีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย เป็นส่วนประกอบสำคัญของสมองและระบบย่อยอาหาร เป็นองค์ประกอบหลักของฮอร์โมนหลายชนิด รวมทั้งมีความจำเป็นในการสังเคราะห์วิตามินดี เป็นต้น

คอเลสเตอรอลเป็นสารประกอบไขมันชนิดหนึ่งจากไขมัน 4 ชนิดที่มีอยู่ในร่างกายของเรา คือ 

1.  ไตรกลีเซอไรด์ ประกอบด้วย กลีเซอรอล 1 โมเลกุลและกรดไขมัน 3 โมเลกุล จัดเป็นไขมันที่เป็นกลาง ซึ่งถ้าหากใครมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูง และมีระดับไลโพโปรตีนชนิดความหนาแน่นสูง (HDL) น้อยหรือมีไลโพโปรตีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL) มาก ก็จะทำให้มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

2.   ฟอสโฟลิพิด เป็นองค์ประกอบหลักของเยื่อหุ้มเซลล์ 

3.  กรดไขมันอิสระ เป็นสารที่ไม่ละลายน้ำ แต่จะถูกขนส่งไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยอาศัยโปรตีนที่เรียกว่า อัลบูมิน (albumin)

4.   คอเลสเตอรอล เป็นสารที่ละลายในไขมันและเป็นสารตั้งต้นที่สำคัญในการผลิตฮอร์โมนต่างๆ รวมทั้งน้ำดีและวิตามิน คอเลสเตอรอลถูกขนส่งไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยอาศัยโปรตีนที่เรียกว่า ไลโพโปรตีน (lipoprotein) โดยไลโพโปรตีนความหนาแน่นต่ำ(low density lipoprotein-LDL) ทำหน้าที่เคลื่อนย้ายไตรกลีเซอไรด์ และคอเลสเตอรอลไปยังเซลล์อื่นๆ ของร่างกาย ส่วนไลโพโปรตีนความหนาแน่นสูง (High density lipoprotein-HDL) จะทำหน้าที่ขนส่งคอเลสเตอรอลจากเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกายกลับมาที่ตับ เพื่อกำจัด ดังนั้นคอเลสเตอรอลสามารถแบ่งตามลักษณะการขนส่งออกเป็น 2 ชนิด คือ แอลดีแอล คอเลสเตอรอล (LDL cholesterol) เป็นคอเลสเตอรอลชนิดเลว และเอชดีแอล คอเลสเตอรอล (HDL cholesterol) เป็นคอเลสเตอรอลชนิดดี

คอเลสเตอรอลจัดเป็นปัจจัยเสี่ยง 3 รูปแบบ คือ

1. เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ เนื่องจากมีหน่วยพันธุกรรมหรือยีนเป็นตัวกำหนดการผลิตคอเลสเตอรอล 
2. เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้ เนื่องจากสามารถใช้ยาทำให้ระดับคอเลสเตอรอลลดลงได้ 
3. เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สามารถลดผลกระทบให้เบาบางลงได้ โดยการรับประทานอาหาร การลดน้ำหนักและการออกกำลังกาย ซึ่งเป็นการเพิ่มคอเลสเตอ    รอลชนิดดี (HDL cholesterol) และลดคอเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL cholesterol) 
ปริมาณคอเลสเตอรอลในแต่ละวันจะผันแปรได้ตามชนิดของอาหารที่รับประทาน ความเครียด การสูบบุหรี่ การออกกำลังกาย ฯลฯ ถ้ามีปริมาณคอเลสเตอรอลมากเกินความจำเป็นจะส่งผลให้คอเลสเตอรอลดังกล่าวไปเกาะสะสมอยู่บริเวณผนังด้านในของหลอดเลือดแดง ทำให้ช่องว่างภายในหลอดเลือดเล็กลง จนทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ สมอง แขนและขาได้น้อยลง ทำให้เหนื่อยง่าย มีอาการมึนงง ปวดศีรษะ ชาตามมือและเท้า มีความดันโลหิตสูง ตลอดจนเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งเนื่องจากมีไขมันสะสมที่บริเวณหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดตีบแคบ นอกจากนั้นยังอาจก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง ตีบ ทำให้เกิดอัมพฤกษ์และอัมพาต โรคหลอดเลือดตีบตามแขนขา และโรคหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบ ทำให้หัวใจขาดเลือด หัวใจวาย ซึ่งข้อสังเกตคือ ผู้ที่เป็นโรคเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องอ้วนเสมอไป คนผอมก็สามารถที่จะเป็นโรคต่างๆ นี้ได้ เพราะการผลิตคอเลสเตอรอลถูกควบคุมโดยกรรมพันธุ์

coles

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอลอยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือสูงเกินค่าปกติได้คือ อาหาร ดังนั้นการหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดลดลงได้                
อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงมี 2 ชนิด คือ ไขมันแข็ง หรือไขมันอิ่มตัว ซึ่งมักได้จากสัตว์ และอาหารประเภทแป้งหรือคาร์โบไฮเดรต อาหารพวกนี้ไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก ๆ แต่ควรบริโภคอาหารที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันข้าวโพด น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น การบริโภคไขมันจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการกระจายตัวของคอเลสเตอรอลจากพลาสมาเข้าสู่เนื้อเยื่อ เพราะกรดไขมันไม่อิ่มตัวมีผลต่อการนำคอเลสเตอรอลเข้าสู่เซลล์จึงทำให้มีการสลายตัวของ LDL เพิ่มขึ้น ส่วนกรดไขมันอิ่มตัวจะไปลดการนำคอเลสเตอรอลเข้าสู่เซลล์  
การระมัดระวังการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงและออกกำลังกายสม่ำเสมอตั้งแต่อายุยังน้อย ประกอบกับการตรวจระดับไขมันในเลือดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จะเป็นการช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการมีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง และลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพได้ 

เอกสารอ้างอิง
1. นิติศักดิ์ อัศวโชคอนันท์. 2549.วายร้ายคอเลสเตอรอล. กรุงเทพฯ: ใกล้หมอ.  
2. http://www.uniserv.buu.ac.th/forum2/post.asp?method=TopicQuote&TOPIC_ID=1301&FORUM_ID=8
3. http://health.discovery.com/centers/heart/cholesterol/cholesterol.html
4. http://www.endocrinologist.com/choles.htm

 
 

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
คอเลสเตอรอล ,Cholesterol,ไขมัน,เลือด,เสี่ยง,โรคหลอดเลือดหัวใจ,โรค,หลอดเลือดหัวใจ
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 03 มิถุนายน 2553
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 285 คอเลสเตอรอลภัยร้ายใกล้ตัว /article-biology/item/285-2010-06-03-08-22-33
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ตอนที่ 21 Rachel Carson
รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ตอนท...
Hits ฮิต (2048)
ให้คะแนน
กลับมาพบกันอีกครั้งสำหรับบทความซีรีส์รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก เราเดินทางมาไกลจนถึงตอนที่ ...
แผ่นดินไหวเปลี่ยนน้ำ ให้เป็น "ทอง"
แผ่นดินไหวเปลี่ยนน้ำ ให้เป็น "ทอง"
Hits ฮิต (13827)
ให้คะแนน
เคยสงสัยกันหรือไม่คะว่า? สายแร่ทองคำ หรือแหล่งแร่ทองคำที่เราพบกันใต้ดินนั้นมาจากไหน เกิดขึ้นมาได้อย ...
สธ. เผย 5 โรควิถีชีวิต คุกคามคนไทยรุนแรงขึ้น
สธ. เผย 5 โรควิถีชีวิต คุกคามคนไทยรุนแรง...
Hits ฮิต (14417)
ให้คะแนน
ตายปีละเกือบแสนราย ป่วยเข้านอน รพ. เพิ่มเกือบ 2 เท่าในรอบ 5 ปี ระดมพลัง อสม. 1 ล้านคน คัดกรองเบาหวา ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)