logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • วิธีดับความเผ็ดทั้งง่ายทั้งหายเผ็ดเร็ว

วิธีดับความเผ็ดทั้งง่ายทั้งหายเผ็ดเร็ว

โดย :
ไชยยศ เกิดกลาง
เมื่อ :
วันศุกร์, 10 กรกฎาคม 2563
Hits
12501

        อาหารรสจัดหรือความจัดจ้านของพริก คือหนึ่งเอกลักษณ์ของความเป็นไทยที่หลายคนชื่นชอบ และชาวต่างชาติต่างพูดถึงหากจะหารับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดร้อนและขึ้นชื่อด้านอาหารเผ็ด ๆ คงไม่พ้นที่ประเทศไทย หลายท่านหาวิธีแก้อาการเผ็ดด้วยวิธีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการดื่มน้ำ การรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีรสชาติหวานหรืออื่น ๆ อีกมากมาย แต่บางคนอาจไม่ทราบว่ามีวิธีที่หลากหลายวิธีที่สามารถดับความเผ็ดได้ดีและรวดเร็ว จะมีอะไรบ้าง

11341 1edit

ภาพพริกสีแดง
ที่มา https://pixabay.com/th/ ,JillWellington

       ความเผ็ดร้อนที่เกิดจากพริก เพราะฤทธิ์ของสารชนิดหนึ่งชื่อว่าสารแคปไซซิน (Capsaicin) ที่มีอยู่มากมายในพริก เวลาที่เราทานอาหารเข้าไปสารชนิดนี้ก็จะเข้าไปกระตุ้นปลายประสาททำให้เกิดความรู้สึกแสบร้อนขึ้นมา ดังนั้น การจะทำให้การเผ็ดหายไปก็ต้องขจัดเจ้าแคปไซซินให้หมดไปนั่นเอง ส่วนจะมีวิธีอะไรบ้างนั้นมาดูกัน

          นม

          ในนมมีโปรตีนชื่อคาเซอิน (Casein) ที่จะไปดึงแคปไซซินจากปลายประสาท แล้วกำจัดมันทิ้ง จึงทำให้ความเผ็ดหายไปได้ วิธีการคือเมื่อเราดื่มนมเข้าไปควรอมไว้ในปากสักพัก เพื่อให้นมทำปฏิกิริยาภายในช่องปาก นอกจากนี้นมยังสามารถเคลือบกระเพาะของเราได้ ไม่ทำให้ความเผ็ดร้อนของพริกไปทำลายกระเพาะอาหารไม่ทำให้เกิดอาการแสบท้องได้ดีอีกด้วย

          น้ำมะนาวและมะเขือเทศ

         รสเปรี้ยวช่วยให้หายเผ็ดได้ดีเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราทานส้มตำก็จะมีมะนาวและมะเขือเทศเป็นส่วนประกอบอยู่ในส้มตำอยู่แล้ว ถ้าเผ็ดก็ลองหยิบมะนาวในส้มตำ จะบีบเอาแค่น้ำมะนาวหรือจะทานทั้งเปลือกเลยก็ได้ รวมถึงมะเขือเทศที่ทานเข้าไปได้เลย ก็ช่วยแก้เผ็ดได้ระดับดีเลยทีเดียว

          น้ำมันมะกอกและน้ำมันมะพร้าว

          น้ำมันนี้สิช่วยได้ แคปไซซินละลายได้ดีในน้ำมันและไขมัน การอมน้ำมันมะกอกหรือน้ำมันมะพร้าวกลั้วไว้ในปากแล้วบ้วนทิ้งจึงช่วยละลายแคปไซซินให้หมดไป ลองนึกเวลาที่เราทำอาหารกับข้าวน้ำมันเป็นสิ่งที่จะทำให้อาหารเราไม่ติดกับกระทะไม่ว่าจะผัดหรือทอด แล้วกับแค่ความเผ็ดลื่นหายออกจากปากของเราแน่นอน

          น้ำอุ่นหรือซุปร้อนๆ

         วิธีนี้อาจไม่แนะนำนักและคนส่วนมากไม่ค่อยนิยมซึ่งเป็นวิธีทรมานยิ่งขึ้นไปอีก ต้องเป็นคนที่มีความอดทนได้ดีในระดับหนึ่งที่จะคิดใช้วิธีนี้ คนส่วนมากถ้าเผ็ดจะเลือกทานน้ำเย็นจะช่วยหายเผ็ดร้อนแค่ตอนน้ำเย็นอยู่ในปากแต่หลังจากนั้นผลที่ได้จะเพิ่มความเผ็ดร้อนเพิ่มมากขึ้นทวีคูณมากขึ้น ผิดกลับน้ำอุ่นหรือซุปร้อนจะเผ็ดร้อนทวีคูณเมื่ออยู่ในปากแต่เมื่อเรากลืนน้ำอุ่นหรือซุปร้อนๆลงไปแล้วความเผ็ดจะลดลงได้ดีทีเดียวอย่างไม่น่าเชื่อ

          ข้าวหรือขนมปัง

          อีกวิธีหนึ่งที่ทำได้ง่ายและหายเผ็ดจากพริกอย่างได้ผลคือ ข้าวและขนมปัง เวลาเราทานอะไรเผ็ดๆเพียงแค่หาขนมปัง ไม่งั้นก็ข้าวมาเคี้ยวๆ สักพักความเผ็ดก็จะหายไปเป็นวิธีการที่ได้ผลได้ดีเช่นกัน

          เกลือ

          เพียงแตะเกลือไว้ที่ลิ้นอมเกลือไว้ในปากเพื่อรับรสเค็มเข้ามาแทนที่ความเผ็ด เมื่อเกลือละลายจนหมด ความเผ็ดร้อนในปากจะลดลงด้วย

          น้ำตาลและน้ำผึ้ง

          ความหวานก็สามารถชนะความเผ็ดได้ เพียงใช้น้ำตาลทรายที่มีอยู่ในครัวของเรามาอมไว้ความหวานจะไล่ความเผ็ดร้อนของพริกได้ดีเช่นกัน หรือหากมีน้ำผึ้งเอามาทากับขนมปังแล้วกินสูตรนี้ก็ไม่แพ้กัน

          เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

          คุณเคยคิดไหมว่าแอลกอฮอล์ก็ทำให้หายเผ็ดได้ หากคุณเป็นนักดื่มตัวยงคงถูกใจวิธีการนี้ไม่น้อย แต่ไม่แนะนำสำหรับผู้ที่ไม่ชอบดื่มหรือเกลียดกลิ่นแอลกอฮอล์ และอาจทำให้คุณเมาหรือขาดสติได้หากดื่มในปริมาณมากดังนั้นหากจะใช่วิธีนี้ควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสม วิธีง่ายเพียงดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า ไวน์ เบียร์ เป็นต้น เพียง 1 แก้ว แอลกอฮอล์ในเครื่องดื่มจะไปไล่ความเผ็ดให้หมดไปอย่างรวดเร็ว

          ปล่อยให้น้ำลายไหล

          วิธีนี้อาจเป็นวิธีที่น่าเกลียดไปสักหน่อยในที่สาธารณะ แนะนำควรทำเมื่อเราอยู่คนเดียว หรือในห้องน้ำที่ที่เป็นส่วนตัวจะดีที่สุด โดยอ้าปากแล้วแลบลิ้นออกมา ก้มหัวลงพอประมาณ ให้น้ำลายไหลสัก 4-5 หยด จะเป็นการไล่ความเผ็ดร้อนออกจากปากโดยเฉพาะลิ้นได้ดี เป็นวิธีที่ง่ายและไม่ต้องใช่อะไรเลย และได้ผลไม่แพ้วิธีต่างๆที่กล่าวมาอย่างแน่นอนครับ

แหล่งที่มา

ศรีวิการ์ สันติสุข. (2562, 18 มีนาคม).  ‘แก้เผ็ด’ แบบนี้สิได้ผล.  สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://krua.co/food-story/food-feeds/265/-lsquo -แก้เผ็ด-rsquo-แบบนี้สิได้ผล

Darika. (2562, 03 มกราคม) 7 วิธี แก้เผ็ด แบบทันใจ ได้ผลชัวร์.  สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2562,จาก https://goodlifeupdate.com/healthy-body/77682.html/2

แนะวิธีแก้เผ็ด.สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://www.lib.ru.ac.th/miscell2/?p=630

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
พริก,เผ็ดร้อน,อาหารรสจัด
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอังคาร, 11 กุมภาพันธ์ 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ไชยยศ เกิดกลาง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11341 วิธีดับความเผ็ดทั้งง่ายทั้งหายเผ็ดเร็ว /article-science/item/11341-2020-03-06-08-02-54
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
รู้มั้ยขี้หู...มาจากไหน
รู้มั้ยขี้หู...มาจากไหน
Hits ฮิต (16257)
ให้คะแนน
หู เป็นอวัยวะของสัตว์ที่ใช้การดักคลื่นเสียง เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทการได้ยิน ส่วนรูหูส่วนนอกเท่า ...
ท่ายืนที่ดี ยืนอย่างไร
ท่ายืนที่ดี ยืนอย่างไร
Hits ฮิต (18693)
ให้คะแนน
ท่าทางที่ดีบ่งบอกถึงสุขภาพของร่างกายส่วนต่างๆ ทั้งข้อต่อ กล้ามเนื้อ กระดูก การไหลเวียนเลือด และมีคว ...
ประโยชน์ของหม่อน (Mulberry)
ประโยชน์ของหม่อน (Mulberry)
Hits ฮิต (25406)
ให้คะแนน
หม่อน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Morus sp. ชื่อภาษาอังกฤษคือ White Mulberry, Mulberry Tree และมีชื่อภาษาท ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)