logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • เทคโนโลยี
  • รู้จักชีวสารสนเทศศาสตร์

รู้จักชีวสารสนเทศศาสตร์

โดย :
ณัฐดนัย เนียมทอง
เมื่อ :
วันจันทร์, 05 พฤศจิกายน 2561
Hits
16368

          คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีล้วนมีประโยชน์มากมาย เพราะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกศาสตร์ทุกสาขาอาชีพ ไม่เว้นแม้แต่ด้านชีววิทยา และสิ่งที่นำมาซึ่งความสำคัญในการประยุกต์ใช้นี้ก็คือข้อมูลทางด้านชีววิทยานั่นเอง สำหรับบทความนี้ ผู้เขียนขอนำเสนอเรื่องราวของศาสตร์การเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพแขนงหนึ่งที่มีชื่อว่า “ชีวสารสนเทศศาสตร์”

8486 1

ภาพประกอบบทความชีวสารสนเทศศาสตร์ (Bioinformatics)
ณัฐดนัย เนียมทอง

        ชีวสารสนเทศศาสตร์ (Bioinformatics) คือศาสตร์การเรียนรู้สาขาหนึ่งที่ประยุกต์ใช้ความรู้ทางคอมพิวเตอร์ในแขนงต่าง ๆ  เช่น สารสนเทศ วิทยาศาสตร์การคำนวณ  วิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ผสมผสานกับความรู้ในด้านชีววิทยาแขนงต่าง ๆ เช่น อณูชีววิทยา พันธุศาสตร์ ชีวเคมี จุลชีววิทยา ไม่ใช่แค่นั้นยังมีศาสตร์ความรู้อื่นก็นำมาประยุกต์ใช้รวมกันด้วยอย่าง คณิตศาสตร์ประยุกต์ สถิติศาสตร์  เคมี เพื่อทำการเก็บรวบรวมประมวลผลและสรุปผลข้อมูลทางชีววิทยาทางการแพทย์ โดยมีงานหลักคือการสืบค้นข้อมูลทางชีววิทยาอย่างเป็นระบบ  อีกทั้งยังช่วยให้การทำงานและวิจัยเพื่อการหาคำตอบและความรู้ใหม่ ๆ ในทางชีววิทยา รวมไปถึง การสร้างแบบจำลองเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของข้อมูลใหม่ ๆ ในศาสตร์ความรู้ใหม่ ๆ เช่น เมตาบอโลมิกส์ การถอดรหัสพันธุกรรมเชื้อโรคหรือพืชที่สำคัญ และการผลิตยาใหม่ เป็นต้น

        ตัวอย่างสำคัญและเป็นที่มาของจุดเริ่มของชีวสารเทศคือความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีชีวภาพ คือ จีโนม (Genome)  ข้อมูลทางด้านพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต  จีโนมิกส์ (Genomics) เป็นการศึกจีโนมทั้งหมดของสิ่งมีชีวิต  โปรตีนโอมิกส์ (Proteomics) เป็นการศึกษาหาโปรตีนชนิดต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิต ประกอบกับวิทยาการด้านฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวไว้

องค์ประกอบหลักสำคัญของชีวสารสนเทศศาสตร์

  • ฐานข้อมูลที่ใช้จัดเก็บ
  • ขั้นตอนระเบียบวิธีการทางคอมพิวเตอร์และสถิติ
  • การใช้เครื่องมือด้านคอมพิวเตอร์

          แต่สิ่งสำคัญอย่างยิ่งไปกว่าองค์ประกอบใด ๆ ก็คือ บุคคลากรชีวสารสนเทศศาสตร์ ในยุคที่เราให้ความสำคัญกับข้อมูล เพราะในปัจจุบันเรื่องของข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก ข้อมูลในอดีตมีผลประโยชน์ต่ออนาคต โดยเฉพาะการสืบค้นข้อมูลในฐานข้อมูลชีววิทยา (biological database) ที่บรรจุข้อมูลต่าง ๆ ทางด้านชีววิทยาไว้มากมาย การสืบค้นข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์และประมวลผลนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้ผู้มีความรู้ความสามารถทั้งด้านคอมพิวเตอร์และชีววิทยา อีกทั้งยังรวมไปถึงความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์และสถิติอีกด้วย

          ประเทศไทยเองมีความต้องการเป็นอย่างมากที่จะสร้างบุคลากรด้านชีวชีวสารสนเทศศาสตร์ แน่นอนว่าบนพื้นฐานการศึกษาที่ผ่านมา ส่วนใหญ่แล้วผู้มีความรู้จะมีความรู้ในศาสตร์ที่ตนเองชอบหรือเรียนมาเท่านั้น เพราะฉะนั้นจะมีความรู้เฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง ดังนั้น สิ่งสำคัญคือการพัฒนาความรู้เพิ่มเติม ขยายความก็คือ คนที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ก็ควรมีการให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับทางด้านชีววิทยา ส่วนคนที่ความรู้ด้านชีววิทยาก็ควรได้รับความรู้เพิ่มเติมด้านคอมพิวเตอร์ หรือสรุปก็คือ พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ในศาสตร์ทั้งสองด้านนั่นเอง

         สุดท้ายนี้ขอฝากไว้ว่า ชีวสารสนเทศศาสตร์เป็นอีกศาสตร์หนึ่งที่สำคัญ จำเป็นที่ต้องพัฒนาต่อไปรวมถึงการพัฒนาบุคคลกรให้มีความรู้ความสนใจศาสตร์นี้ให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการนำประโยชน์ข้อมูลสาธารณะที่ได้จากศาสตร์สาขานี้ ไปใช้ในการพัฒนาทางด้านต่าง ๆ ของประเทศต่อไป

แหล่งที่มา

ชีวสารสนเทศศาสตร์ (Bioinformatics) คือ อะไร (What is Bioinformatics ?) .  สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2561, จาก http://www.thaibiotech.info/what-is-bioinformatics.php

ชีวสารสนเทศ คืออะไร?.   สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2561, จาก http://www.si.mahidol.ac.th/simi/bioinfo/bi_what.html

ผศ.ดร.ชุติมา คงจรูลและอ.เอกวิทย์ ตรีเนตร. ชีวสารสนเทศทางก้านการเกษตรและอุตสหกรรม. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2561, จาก http://www.e-manage.mju.ac.th/openFile.aspx?id=MTE1NjEy

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
คอมพิวเตอร์, เทคโนโลยี, ชีววิทยา, ชีวสารสนเทศศาสตร์, Bioinformatics, ประยุกต์, สารสนเทศ, วิทยาศาสตร์การคำนวณ, วิทยาการคอมพิวเตอร์, ฐานข้อมูล, วิธีการทางคอมพิวเตอร์และสถิติ, biological database, ฐานข้อมูลชีววิทยา
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 02 สิงหาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ณัฐดนัย เนียมทอง
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 8486 รู้จักชีวสารสนเทศศาสตร์ /article-technology/item/8486-2018-07-18-04-23-12
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
สารเคมีที่ยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์
สารเคมีที่ยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์
Hits ฮิต (24346)
ให้คะแนน
สารเคมีที่ยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ สุนทร ตรีนันทวัน การใช้สารเคมีเพื่อป้องกันการเน่าเสียหรือการ ...
เอสโตรเจนในน้ำมะพร้าวอ่อน
เอสโตรเจนในน้ำมะพร้าวอ่อน
Hits ฮิต (19867)
ให้คะแนน
เอสโตรเจนในน้ำมะพร้าวอ่อน ชะลอโรคอัลไซเมอร์ หนังสือพิมพ์คมชัดลึก อาจารย์ มอ.หาดใหญ่ วิจัย พบฮอร์โมน ...
ถั่วเหลืองกับสุขภาพ
ถั่วเหลืองกับสุขภาพ
Hits ฮิต (19046)
ให้คะแนน
...ถั่วเหลืองกับสุขภาพ... สุนทร ตรีนันทวัน เราคงจะรู้จัก น้ำนมถั่วเหลืองหรือน้ำเต้าฮู้หรือเต้าฮวย น ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)