logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • เทคโนโลยี
  • รู้จัก HTML URL Encoding

รู้จัก HTML URL Encoding

โดย :
ณัฐดนัย เนียมทอง
เมื่อ :
วันพุธ, 07 พฤศจิกายน 2561
Hits
14025

             เชื่อว่าหลาย ๆ คน คงเคยประสบปัญหาที่กำลังจะนำเสนอต่อไปนี้ นั่นคือเวลาที่ต้องการคัดลอก (Copy) URL Link หรือที่อยู่ของเว็บไซต์ในช่อง Address bar ที่มีภาษาไทยผสมอยู่ เมื่อนำมาวาง (Past) ในพื้นที่ของข้อความที่ต้องการแสดงผล ข้อความที่ปรากฏจะกลายเป็นอักขระตัวอักษรที่อ่านไม่เป็นคำที่ประกอบด้วยตัวอักษรภาอังกฤษ ตัวเลข สัญลักษณ์ หรือที่เรามักเรียกกันว่าภาษาต่างดาวนั่นเอง ดังนี้ “97%E0%B8%A2” ซึ่งจริง ๆ ลักษณะแบบที่กล่าวมานี้ เราเรียกว่า เอนโค้ดดิ้ง (encoding) และ ดีโค้ดดิ้ง (decoding) สำหรับบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันว่า ทั้งสองคำนี้มีการทำงานอย่างไร และแน่นอนที่สุด มีวิธีการแก้ปัญหานี้มาฝากให้อ่านกันด้วย

8491 1
ภาพที่ 1 ตัวอย่างหน้าจอสำหรับเข้าหน้าเว็บไซต์
ที่มา https://pixabay.com/ , JuralMin

          เรามาดูตัวอย่างกันก่อน สมมติว่าลองเข้าเว็บไซต์วิกิพีเดีย ในช่องค้นหาให้ค้นหาคำว่า “วิทยาศาสตร์” ซึ่งจะปรากฏชื่อที่อยู่ของเว็บไซต์ในช่อง Address bar ดังรูป

8491 2
ภาพที่ 2 ตัวอย่าง การเข้าเว็บไซต์วิกิพีเดีย ในช่องค้นหาให้ค้นหาคำว่า “วิทยาศาสตร์”
ที่มา ณัฐดนัย เนียมทอง

          ให้ลองคัดลอกที่อยู่ลิงก์ดังกล่าวแล้วไปวางบนพื้นที่แสดงข้อความที่ไหนก็ได้ จะปรากฏข้อความความที่อยู่ลิงค์ดังกล่าวถูกแปลงไปเป็นข้อความแบบนี้ https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C

          ซึ่งจะเห็นว่าในส่วนของข้อความที่เป็นภาษาไทยคำว่า “วิทยาศาสตร์” ถูกเปลี่ยนแปลงไป นั่นก็เพราะ URL ถูกแปลงให้อยู่ในรูปของ URL encoding เอาไว้นั่นเอง โดยเป็นการแทนอักขระด้วยรหัสต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถ ดูรายละเอียดการแทนรหัสต่าง ๆ นี้ในข้อมูล HTML URL encoding reference ได้เลย

          ดังนั้น เวลาที่เราจะนำที่อยู่ลิงค์ดังกล่าวไปใช้งาน หรือไปวางเป็นข้อมูลจริง ๆ เราต้องทำการแปลงกลับข้อมูลนั้นก่อน ซึ่งเราเรียกว่า decode  ในขั้นตอนการแปลงข้อมูลนี้เราสามารใช้เครื่องมือออนไลน์เข้ามาช่วยได้ ยกตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ https://meyerweb.com/eric/tools/dencoder/ ที่ให้บริการแปลงข้อมูลดังล่าวผ่านทางเว็บไซต์ โดยเมื่อเรานำที่อยู่ของเว็บไซต์ที่ผ่านการ decode เอาไว้ มาวางในพื้นที่ดังรูป

8491 3
ภาพที่ 3 การทำ Encode
ที่มา ณัฐดนัย เนียมทอง

          หลังจากนั้นให้คลิกปุ่ม Decode ระบบก็จะแปลงกลับไปเป็น URL Link หรือที่อยู่ของเว็บไซต์ที่มีภาษาไทยอยู่ดังรูป

8491 4

ภาพที่ 4 การทำ Decode
ที่มา ณัฐดนัย เนียมทอง

         นี่เป็นตัวอย่างเพียงเว็บไซต์หนึ่งเท่านั้น ยังมีเว็บไซต์อื่น ๆ อีกที่ยังให้บริการแปลงข้อมูลดังกล่าว เช่น

  • https://www.url-encode-decode.com/
  • http://www.convertstring.com/th/EncodeDecode/UrlDecode
  • http://www.mindphp.com/tools/dencoder/index.php?utm_medium=mindphp.com+-+Content&

        แต่ทั้งนี้ผู้เขียนยังมีเทคนิคง่าย ๆ โดยไม่ต้องเข้าไปเว็บไซต์ต่าง ๆ ให้ยุ่งยาก แค่เพียงเคาะ Spacebar 1 ครั้ง หน้า URL Link หรือที่อยู่ของเว็บไซต์ที่ต้องการแปลงข้อมูล จากนั้นก็คัดลอกข้อความตามปกติก็สามารถทำได้อย่างง่าย ๆ เช่นเดียวกัน

         ทีนี้เรามาทำความรู้จักกับ encoding (เอนโค้ดดิ้ง) และ decoding (ดีโค้ดดิ้ง) กันดีกว่า ว่ามันคืออะไร

        ในทางศาสตร์ของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีนั้น encoding เป็นกระบวนการวางลำดับของตัวอักษร ตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ เข้าสู่ฟอร์แมตพิเศษสำหรับการส่งผ่านที่มีประสิทธิภาพหรือจัดเก็บ decoding เป็นกระบวนการตรงข้าม การแปลงของรูปแบบ encode กลับไปยังลำดับดั้งเดิมของตัวอักษร encoding และ decoding ได้รับการใช้ใน การสื่อสารข้อมูล เครือข่าย และการจัดเก็บ คำนี้เป็นการประยุกต์เฉพาะกับระบบสื่อสารทางวิทยุ ซึ่งสรุปได้ว่า" Encoding คือ การเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารไปเป็นสัญญาณ" " Decoding คือ การเปลี่ยนสัญญาณไปเป็นข้อมูลข่าวสาร"

          เป็นอย่างไรกันบ้าง ก็เป็นอีกหนึ่งความรู้และเทคนิคดี ๆ ที่นำไปใช้และบอกต่อกันได้เลย

แหล่งที่มา

encoding เอนโค้ดดิ้ง และ decoding ดีโค้ดดิ้ง คืออะไร. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2561. จาก  www.mindphp.com/คู่มือ/73-คืออะไร/3648-encoding-เอนโค้ดดิ้ง-และ-decoding-ดีโค้ดดิ้ง-คืออะไร.html

URL คืออะไร ยูอาร์เเอล คือ ที่อยู่ของไฟล์หรือเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2561. จาก www.mindphp.com/คู่มือ/73-คืออะไร/3648-encoding-เอนโค้ดดิ้ง-และ-decoding-ดีโค้ดดิ้ง-คืออะไร.html

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
HTML, URL, encoding ,decoding
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 03 สิงหาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ณัฐดนัย เนียมทอง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เทคโนโลยี
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 8491 รู้จัก HTML URL Encoding /article-technology/item/8491-html-url-encoding
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
น้ำปลาสีดำ กินได้หรือไม่??
น้ำปลาสีดำ กินได้หรือไม่??
Hits ฮิต (36627)
ให้คะแนน
น้ำปลาเรารับประทานกันอยู่ทุกวัน แต่หากเราสังเกตน้ำปลาทำไมมีสีเข้มขึ้น จนเกิดความสงสัยว่ากินได้ไหม เ ...
เตือนระวังเชื้อราในบ้าน-เสื้อผ้า หลังน้ำลด
เตือนระวังเชื้อราในบ้าน-เสื้อผ้า หลังน้ำ...
Hits ฮิต (13763)
ให้คะแนน
กระทรวงสาธารณสุขแนะหลังน้ำลด ควรรีบทำความสะอาดบ้านภายใน 24 - 48 ชั่วโมง กำจัดเชื้อรา เสื้อผ้าที่จมน ...
การออกกำลังกายเพื่อป้องกันหกล้ม
การออกกำลังกายเพื่อป้องกันหกล้ม
Hits ฮิต (13408)
ให้คะแนน
การออกกำลังกายเพื่อป้องกันหกล้ม ในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ อาจมีความเสี่ยงที่จะหกล้มได้ คว ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)