logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • เทคโนโลยี
  • API ช่องทางการเชื่อมต่อเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างซอฟต์แวร์

API ช่องทางการเชื่อมต่อเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างซอฟต์แวร์

โดย :
มาโนชญ์ แสงศิริ
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 30 พฤษภาคม 2562
Hits
16724

         ปัจจุบันการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างซอฟต์แวร์สำหรับนักพัฒนาด้วย API มีความสำคัญ มีความสะดวกสบาย และเป็นที่นิยมอย่างมาก เป็นเสมือนตัวกลางที่ทำให้โปรแกรมประยุกต์หนึ่งเชื่อมต่อกับโปรแกรมประยุกต์หนึ่งได้ หรืออาจจะเชื่อมการทำงานเข้ากับระบบปฏิบัติการก็ได้เช่นเดียวกัน

         ตัวอย่างเช่น การเชื่อมต่อข้อมูล Google Maps API บริการของ Google อีกรูปแบบหนึ่ง ที่เราสามารถนำข้อมูลของ Google Maps ที่ทาง Google ให้บริการ มาใช้กับเว็บไซต์ของหน่วยงานหรือห้างร้านต่าง ๆ เพื่อให้สามารถทราบถึงตำแหน่งที่ตั้งของหน่วยงานนั้น ๆ และยังสามารถเดินทางไปถึงจุกหมายได้ด้วยการใช้การนำทางจาก Google Maps นั่นเอง

9825 1

ภาพ Application Programming Interface (API)
ที่มา มาโนชญ์ แสงศิริ ดัดแปลงจาก https://pixabay.com/ , TeroVesalainen

API คืออะไร

          API หรือ Application Programming Interface เป็นบริการช่องทางการเชื่อมต่อเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลจากระบบหนึ่งไปสู่ระบบอื่น ๆ ที่มีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย หน้าที่หลักของ API คือ คอยรับคำสั่งจากฝั่งลูกข่าย (Client) ซึ่งก็คือ Application ต่าง ๆ เช่น Web Application, Mobile Application, Desktop Application เป็นต้น เมื่อฝั่ง ลูกข่าย (Client) ส่งคำสั่ง จะเรียกว่าการ Request  จากนั้น ตัว API  จะรับคำสั่งดังกล่าว นำไปประมวลผลและสรุปเป็นข้อมูลที่ตรงกับ Request และส่งข้อมูลเหล่านั้นกลับไปที่ฝั่งลูกข่าย (Client) หรือ Application เพื่อนำไปใช้งานต่อไป

ประโยชน์ของ API

  1. ช่วยในการพัฒนาเว็บไซต์หรือ Application ได้ง่ายและรวดเร็วซึ่ง API จะเป็นตัวช่วยที่นักพัฒนาไม่ต้องเข้าไปแก้ไขคำสั่งทำให้สะดวกสบายในการใช้งาน

  2. ช่วยให้นักพัฒนาเว็บไซต์หรือเจ้าของเว็บไซต์สามารถมีฐานผู้ชมเว็บไซต์ให้มากขึ้น

  3. ทำให้ผู้ใช้งานเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่มีการติดตั้ง API ของอีกเว็บไซต์หนึ่ง ไม่ต้องเข้าหน้าเว็บไซต์ที่เป็นเจ้าของ API เพียงแต่เข้ามายังเว็บไซต์ที่มีการติดตั้ง API เท่านั้น ทำให้การรับรู้ข่าวสารต่าง ๆ ทั่วถึงกันและสะดวกในการใช้งานของผู้ใช้งานเว็บไซต์

  4. API สามารถรับส่งข้อมูลข้ามเครื่องแม่ขายได้ในปัจจุบันเว็บไซต์ใหญ่ ๆ หลายเว็บไซต์จะมีการเปิดให้ใช้งาน API ซึ่งเราอาจจะเห็นการใช้งาน API ได้มากขึ้น โดยเฉพาะเว็บไซต์ด้านการติดต่อสื่อสาร Social Network และ E-commerce

เริ่มใช้งาน API ได้อย่างไร

          การใช้งาน API ในแต่ผู้ให้บริการนั้น สามารถศึกษาได้จากคู่มือนักพัฒนา (Developers) ซึ่งจะเขียนไว้อย่างละเอียดว่า ใช้รูปแบบการส่งข้อมูลแบบไหน, ใช้ภาษาโปรแกรมอะไรในการเชื่อมต่อ, ใช้ แพลตฟอร์มใดในการเชื่อมต่อ เช่น Web Application, Mobile Application, Desktop Application และส่วนมากจะให้ลงทะเบียนสมัครใช้บริการ เพื่อรับค่าอ้างอิงต่าง ๆ เช่น Token อีกทั้งต้องดาวน์โหลด Libraries ของภาษาโปรแกรมของผู้ให้บริการนั้นมาติดตั้งในเครื่องนักพัฒนา หรือเครื่องแม่ข่ายของนักพัฒนา

ตัวอย่าง API ที่นิยมในปัจจุบัน

          Google Maps API                          https://console.cloud.google.com/apis

          Line API                                      https://developers.line.biz

          Facebook API                               https://developers.facebook.com

          Twitter API                                   https://developer.twitter.com

          Youtube API                                 https://developers.google.com/youtube

          Flickr API                                     https://www.flickr.com/services/api

lot Platform โดยคนไทยที่มีบริการ API

          NETPIE

          Anto.io (Anto loT Platdorm)

          loTtweet                

หน่วยงานของรัฐที่ให้บริการ API

ธนาคารแห่งประเทศไทย

          เว็บไซต์ https://www.bot.or.th/Thai/Statistics/EconomicAndFinancial/Pages/API.aspx

          เพื่อเป็นการส่งเสริมความร่วมมือในการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนข้อมูลต่าง ๆ ระหว่างองค์กร และสนับสนุนการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิตอล ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงได้เพิ่มการเผยแพร่ข้อมูลสถิติรูปแบบ API โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้ข้อมูลกลุ่มองค์กรต่าง ๆ  เช่น กลุ่มสถาบันการเงิน สำนักข่าว ผู้ให้บริการข้อมูล นักพัฒนาระบบงาน และบริษัทต่าง ๆ  นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้อย่างสะดวก คล่องตัว รวดเร็ว และปลอดภัย

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

          เว็บไซต์ https://api-portal.sec.or.th

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)

          เว็บไซต์ https://api.data.go.th

          การเปิดให้บริการข้อมูลผ่านเครือข่าย ในรูปแบบ Public API เพื่อให้นักพัฒนาแอปพลิเคชัน ผู้ใช้บริการ ภาคธุรกิจเอกชน และหน่วยงานต่าง ๆ ตลอดจนประชาชนทั่วไป ในการเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกรวดเร็ว และสอดคล้องตามแนวสากล นอกจากนั้นการเข้าถึงข้อมูลรูปแบบ Web service และ Web API ช่วยสร้างความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลให้หน่วยงานเจ้าของข้อมูลได้ระดับหนึ่ง เพราะการเข้าถึงในรูปแบบดังกล่าว จะไม่สามารถเข้าถึง Database ได้โดยตรง

แหล่งที่มา

Suphakit Annoppornchai. (2017, 30 April).  API คืออะไร ใช้ทำอะไร เป็น Applications Program Interface.  สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2562, จาก  https://saixiii.com/what-is-api/

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
API, Programming, Computing Science, Computational Thinking
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอาทิตย์, 10 กุมภาพันธ์ 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
มาโนชญ์ แสงศิริ
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เทคโนโลยี
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 9825 API ช่องทางการเชื่อมต่อเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างซอฟต์แวร์ /article-technology/item/9825-api
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
ปริมาณในทางฟิสิกส์ทำไมถึงสำคัญ
ปริมาณในทางฟิสิกส์ทำไมถึงสำคัญ
Hits ฮิต (11642)
ให้คะแนน
บรรดานักฟิสิกส์นักวิทยาศาสตร์ตั้งแต่สมัยโบราณต่างก็มีความสงสัยใคร่รู้ ช่างสังเกต และตั้งคำถามกับสิ่ ...
ห้องน้ำบนเครื่องบิน ตอนที่ 2
ห้องน้ำบนเครื่องบิน ตอนที่ 2
Hits ฮิต (13285)
ให้คะแนน
ในครั้งที่แล้วเราได้รู้ถึงความดันบนเครื่องบินที่มีผลต่อการสภาพของผู้โดยสารในเครื่องบินมาแล้ว ที่ควา ...
ปริศนาสายรุ้ง
ปริศนาสายรุ้ง
Hits ฮิต (27693)
ให้คะแนน
เมื่อเวลาฝนตก หลายคนคงตั้งตารอคอยความสวยงามจากปรากฏการณ์ธรรมชาติในชั้นบรรยากาศของโลก ยามที่ฝนตก นั่ ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)